วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

ปรเพณีภาคกลาง

        เป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม และไทยธรรมเป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์ คำว่า กฐิน ตามภาษาบาลีแปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าเพื่อเย็บของพระภิกษุให้สะดวกขึ้น เนื่องจากสมัยก่อน เครื่องมือที่จะใช้เย็บได้สะดวกไม่ มีเหมือนในปัจจุบัน การเย็บจีวรต้องเย็บหลาย ๆ ชิ้นต่อกัน และประสานกันให้มีรูปเหมือนคันนาจึงต้องอาศัยไม้สะดึงช่วยในการขึงผ้า ฉะนั้น ผ้าที่ทำด้วยไม้สะดึงเพื่อการนี้โดยเฉพาะจึงเรียกว่า ผ้าเพื่อกฐิน และยังเรียกผ้ากฐินตามความหมายเดิมเรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ว่ามีผ้าสำเร็จรูปทำเพื่อทอดกฐินโดยไม่ได้อาศัยไม้สะดึงก็ตามแต่เดิมกฐินเป็นเรื่องของสงฆ์โดยเฉพาะ ภิกษุสงฆ์ต้องไปหาผ้ามาเองจากที่ต่าง ๆ ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ด้วยวิธีบังสุกุลและนำผ้านั้นมาเย็บย้อมเอง ต่อมาราษฎรมีจิตศรัทธานำผ้ามาถวายในที่สุดพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้รับผ้าจากราษฎรได้และเมื่อทรงอนุญาตให้กรานกฐินจึงเป็นสาเหตุให้ราษฎรบำเพ็ญกุศลด้วยการทอดกฐิน โดยนัดแนะกับพระ พระจัดการต้อนรับดังนี้เป็นต้น คำว่า ทอด คือ เอาไปวางไว้ การทอดกฐิน จึงหมายถึงการนำเอาผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย ๕ รูป โดยมิได้ตั้งใจว่าจะถวายแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะประเพณีการทอดกฐินของไทยมีหลักฐานปรากฏว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังปรากฎในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ และได้ถือเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันซึ่งมีทั้งกฐินที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลลงไปจนถึงกฐินของราษฎร


กฐินมี ๒ ประเภท คือ กฐินราษฎร์ และกฐินหลวง
กฐินหลวง หมายถึง กฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทอดถวายหรือพระราช ทานให้พระบรมวงศานุวงศ์และองคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ ไปทอดถวายเมื่อถึงกำหนดเทศกาลทอดกฐิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินพระอารามหลวงในเขตที่ใกล้พระนคร เป็นส่วนมากเริ่มพระกฐินหลวงแต่วันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันแรก กำหนดเสด็จ ฯ ถวายผ้าพระกฐิน ๓ วัดหรือ ๒ วัด รุ่งขึ้นแรม ๗ ค่ำ พักวันหนึ่งวันที่พักนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะไม่เสด็จ ฯ ไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง เพื่อให้เจ้าพนักงานเตรียมการที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินเป็นกระบวนพยุหยาตราสถลมารคส่วนกระบวนพยุหยาตราชลมารคจะต้องกำหนดในวันแรม ๙ ค่ำ ก็เพราะวันนี้ทางจันทรคติปรากฏว่าน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงพระนครจะขึ้นมาก และนิ่งไม่ไหลขึ้นลง สะดวกในการที่จะจัดเป็นกระบวนพยุหยาตราทรงเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ สับเปลี่ยนกันไปแต่ละปีพระอารามหลวงที่ทางราชการกำหนด เป็นวัดที่จะต้องเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเป็นประจำปี และเป็นหน้าที่ของสำนักพระราชวังที่จะต้องเตรียมการต่าง ๆ 


          การทำบุญกฐินนี้ก่อให้เกิดอานิสงส์ทั้งผู้ทอดและภิกษุสงฆ์ สำหรับภิกษุสงฆ์นั้น มีบัญญัติไว้ในพระวินัยว่าผู้กรานกฐินแล้ว จะได้อานิสงส์ ๕ ประการ คือ.......................................................................
๑. เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา..............................................................................................................
๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ.........................................................................................................
๓. ฉันคณะโภชน์ได้..............................................................................................................................
๔. ทรงอดิเรกจีวรได้ได้ตามปรารถนา (ในพระวินัยกำหนดให้ภิกษุเก็บผ้าจีวรเกินจากสำรับที่นุ่งไม่ได้..... เก็บได้เพียงแค่ ๑๐ วัน.. หลังจากนี้ต้องสละให้ผู้อื่นไป ถ้ากรานกฐินแล้วเก็บได้เกินกว่านี้)............
๕. ลาภที่เกิดขึ้น ให้เป็นของภิกษุผู้จำพรรษาในวัดนั้น ซึ่งได้กรานกฐินแล้ว............................................
           การที่พระพุทธเจ้ากำหนดไว้ในพระวินัย ให้พระสงฆ์ผู้กรานกฐินแล้วได้รับการยกเว้น เพราะเกิดปัญหาและข้อขัดข้องบางประการ อันก่อให้เกิดความลำบากแก่ภิกษุสงฆ์ เช่น ต้องบอกลา ถ้าอยู่คนเดียวก็บอกลาไม่ได้ การต้องเอาจีวรไปให้ครบ การฉันอาหารล้อมวงกันไม่ได้ การเก็บจีวรสำรองไว้ไม่ได้ นับเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นดังที่พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นความลำบากของภิกษุ จึงมีพุทธานุญาตให้กรานกฐิน นับเป็นความดีความชอบประการหนึ่งที่เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ต้องร่วมมือร่วมใจกัน พระพุทธองค์จึงทรงกำหนดข้อยกเว้นไว้ให้ส่วนอานิสงส์สำหรับผู้ทอดนั้น เชื่อกันว่าได้บุญกุศลแรง เพราะปีหนึ่ง ๆ จะมีเพียงครั้งเดียวและมีฤดูกาลทอด เป็นผลให้ผู้ทอดมีจิตใจแจ่มใสและปีติยินดีในบุญกุศลที่ตนได้ทำไว้ นอกจากนี้ยังสามารถขจัดความโลภ โกรธ หลง โดยทางอ้อมได้อีกด้วย กล่าวคือ กำจัดความโลภในวัตถุทานที่ได้บริจาคแล้วนั้น กำจัดความโกรธเพราะได้ฟังอนุโมทนาบุญนั้น กำจัดความหลงเข้าใจผิดเพราะทำด้วยมือของตนเองในบุญนั้นได้

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น